ทุกวันนี้สำหรับผู้ที่หลงใหลในกาแฟฟิลเตอร์ เรามักจะใช้ตัวฟิลเตอร์ หรือตัวกรองในการสกัดกาแฟกันอยู่แล้ว และตัวกรองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นในรูปแบบ กระดาษกรอง แต่กระดาษกรองที่เราเห็นวางขายกันอยู่ในท้องตลาดนั้น โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่เห็นเด่นชัด คือแบบที่ฟอกขาว ซึ่งดูเหมือนจะได้รับความนิยมในบ้านเรามากกว่า กับแบบที่ไม่ผ่านการฟอกขาว ที่นิยมใช้ในบางพื้นที่
บ้างก็บอกว่ากระดาษแบบไม่ฟอกขาว จะทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นกระดาษติดเข้ามาด้วย แล้วอย่างนี้แสดงว่าแบบที่ฟอกขาวนั้นดีกว่าจริงหรือไม่ มีปัจจัยใดที่ทำให้กาแฟอร่อยหรือไม่อร่อย ในการใช้กระดาษกรองที่แตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาคุยกันว่า สรุปแล้วกระดาษกรองที่เราใช้ในการชงกาแฟ เราควรเลือกแบบที่ฟอกขาว หรือแบบที่ไม่ผ่านการฟอกขาว ทั้งสองมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร แต่ก่อนที่เราจะไปคุยกันในเรื่องนี้ เราจะชวนคุยในเรื่องที่มาของกระดาษกรองกันก่อน

ที่มาของ กระดาษกรอง
แต่เดิมนั้น ตัวกรองที่ใช้ในการสกัดกาแฟ ส่วนใหญ่เราจะใช้ตัวกรองแบบผ้า ซึ่งโดยทั่วไปอาจมีลักษณะคล้ายกับถุงเท้า กระดาษกรองที่เราใช้กันในทุกวันนี้ เพิ่งจะถูกใช้แกนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง โดยได้ถือกำเนิดครั้งแรกที่เมือง Dresden ประเทศเยอรมนี โดยหญิงชาวเยอรมนี Melitta Bentz ที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับวิธีการสกัดกาแฟแบบดั้งเดิม
เธอได้ทำการหาตัวกรองแบบใหม่ ในตอนแรกเธอใช้กระดาษสำหรับซับมันในบ้านของเธอ จากนั้นได้มีการนำมาดัดแปลงเล็กน้อย ตัดให้เป็นรูปร่างพอดีสำหรับทำการสกัดกาแฟ แล้วจึงได้ทดลองทำการสกัดกาแฟหนึ่งแก้ว ผลการทดลองออกมาได้ดีกว่าที่เธอคาดไว้เยอะ ดังนั้น เธอจึงได้ทำการประดิษฐ์สิ่งนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง และเริ่มจดสิทธิบัตรตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
ด้วยเหตุนี้เอง ในวันที่ 8 กรกฎาคม 1908 เราจึงมีกระดาษกล่องสำหรับใช้ในการสกัดกาแฟ ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกของโลก ในชื่อว่า “Filter Top Device lined with Filter Paper” และในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันนี้เอง เธอได้ก่อตั้งบริษัท Melitta Benz Company จนได้กลายมาเป็นบริษัทชื่อดังจนถึงทุกวันนี้
ในปัจจุบันนั้น ถึงแม้จะมีบางคนที่ยังคงใช้ตัวกรองแบบอื่น อย่างตัวกรองแบบผ้า หรือจากวัสดุหลากหลายมากมาย แต่ดูเหมือนว่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะเป็นตัวกรองกระดาษ ซึ่งตัวกรองกระดาษนี่เอง ที่เราเห็นกันในท้องตลาด ก็จะมีอยู่สองแบบอีก คือแบบที่ฟอกขาวและแบบที่ไม่ได้ฟอกขาว แล้วทั้งสองมีความต่างกันอย่างไร
กระดาษกรองแบบฟอกขาว
ความแตกต่างระหว่างกระดาษกองฟอกขาวและกระดาษกล่องไม่ฟอกขาว ก็คือกระดาษกรองที่ฟอกขาวนั้น จะทำการฟอกสีออกจนเป็นสีขาว สิ่งที่นำมาใช้ในการฟอกขาวอาจเป็นคลอรีน หรืออาจเป็นการฟอกขาวด้วยออกซิเจน
ในช่วงยุค 80 ได้มีความกังวลของผู้บริโภคกาแฟ ว่าการใช้คลอรีนในการฟอกขาวกระดาษกรองนั้น อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ที่มาใช้งาน แต่ในปัจจุบันนี้ วิธีการนี้กลับกลายเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ว่ามีความปลอดภัย และเหมาะสมที่จะใช้สำหรับการชงกาแฟ ยิ่งไปกว่านั้น การฟอกขาวด้วยวิธีการละ จะไม่ไปเป็นการรบกวน หรือเพิ่มรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ลงไปในกาแฟของเราอย่างแน่นอน
แต่ถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ก็มีอีกหนึ่งความกังวล ที่กระทั่งในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ยิ่งในปัจจุบันยิ่งหนักมากขึ้น คือเรื่องของการฟอกขาว กับผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม เคยมีการศึกษา ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 2012 ตีพิมพ์ในวารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการ มีการค้นพบว่า ในกระบวนการการฟอกขาวกระดาษกรองสำหรับใช้ในการชงกาแฟ มีปริมาณคลอรีนที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญที่สุด โดยถูกปล่อยออกมาจากโรงงานกระดาษ ในทางกลับกัน การฟอกสีด้วยออกซิเจน อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
หลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตมาก่อน ว่ากระดาษกรองสำหรับชงกาแฟที่เราใช้ในทุกวันนี้ แบบที่ฟอกขาวนั้นฟอกสีมาจากอะไร อันที่จริงแล้วแทบจะทุกยี่ห้อของกระดาษกรอง จะมีการเขียนกำกับ และระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน
กระดาษกรองแบบไม่ฟอกขาว
กระดาษกรองแบบที่ไม่ฟอกขาว ลักษณะที่โดดเด่นและเห็นได้ชัด ที่เรามักจะพบกันคือจะมีสีน้ำตาล เป็นกระดาษกรองที่ไม่ได้ผ่านการฟอกขาวเหมือนกับกระดาษกรองฟอกขาว แน่นอนว่าไม่ได้ผ่านกระบวนการฟอกสี และไม่ได้ผ่านกระบวนการใด ๆ ดังนั้นจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าแบบแรก

กระดาษกรองสีขาวที่เราเห็นกันจนชินตา และไม่ว่าร้านกาแฟร้านไหนก็เลือกที่จะใช้งานมากกว่า คือกระดาษกล่องที่ผ่านการฟอกขาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลับกัน กระดาษกรองที่มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล เป็นสีที่มีตามธรรมชาติ อันเกิดมาจากกระบวนการในการทำ ซึ่งเป็นสีของไม้ที่นำมาใช้ในการทำ สิ่งที่แตกต่างกันของกระดาษกรองทั้งสองแบบนี้คือ หากเราใช้กระดาษกรองแบบที่ไม่ได้ผ่านการฟอกสีมาก่อน อาจมีความเสี่ยง หรือโอกาสที่รสชาติและกลิ่นของกระดาษ จะเข้าไปปะปนกับเครื่องดื่มของเราได้ นี่เป็นเหตุผลที่หลายร้าน หรือหลายคนเลือกใช้กระดาษกรองแบบที่ฟอกขาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การจะได้รสชาติและกลิ่นของกระดาษ เข้าไปปะปนในกาแฟของเรานั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดาษกรองนั้น ๆ และถึงแม้ว่าจะเป็นยี่ห้อไหน กระบวนการในการผลิตดีเพียงใด เราก็จำเป็นที่จะต้องล้างกระดาษกรอง ก่อนที่เราจะหยิบกระดาษกรองเหล่านี้มาใช้งานด้วย ซึ่งมีประโยชน์นอกจากจะไม่ทำให้กลิ่นของกระดาษเข้าไปปะปนในเครื่องดื่มของเราแล้ว ยังเป็นการทำความสะอาดกระดาษกล่องไปในตัวด้วย
วิธีการล้างกระดาษกรองก่อนหยิบมาใช้งาน
อย่างที่บอกไปแล้วว่า การล้างกระดาษกรองก่อนที่เราจะหยิบมาใช้งานนั้น นอกจากจะเป็นการไม่ทำให้รสชาติของกระดาษ เข้าไปปะปนกับเครื่องดื่มของเราแล้ว ยังเป็นการทำความสะอาดกระดาษกล่องไปในตัวด้วย ไม่เพียงเท่านั้น การล้างกระดาษกรองก่อน เป็นการที่น้ำร้อนลงไปในอุปกรณ์ เปรียบเสมือนการวอร์มอุปกรณ์ไปในตัวด้วย ไม่ใช่เพียงแค่กระดาษกรองแบบไม่ผ่านการฟอกสีเท่านั้น แม้แต่กระดาษกรองที่ผ่านการฟอกสีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจมีความเสี่ยงที่จะมีรสชาติและกลิ่นของกระดาษปะปนด้วย ดังนั้นเราก็ควรที่จะล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนที่ใช้งาน วิธีการในการล้างมีดังนี้
- ทำการวางกระดาษกรองของเราลงในดริปเปอร์
- เทนำร้อนลงไปบนกระดาษกรองให้ทั่ว ให้เปียกเสมอกันทั้งแผ่น
- นำน้ำที่ใช้ในการล้างแล้วไปทิ้ง
- ทางที่ดีให้ทำซ้ำแบบนี้อีกครั้ง
- จากนั้นนำกระดาษกรองนี้มาชงกาแฟได้
กระดาษคลองส่วนใหญ่นั้น เพียงแค่เราทำการล้างครั้งเดียว ก็เพียงพอ และสามารถที่จะหยิบมาใช้งานได้แล้ว แต่ในบางยี่ห้อนั้น เราอาจต้องทำการล้างอีกครั้ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนที่ละเอียดอ่อนในรสชาติ อาจจะได้กลิ่นแล้วรสชาติของกระดาษติดไป และหากเราทำการล้างครั้งที่สองแล้ว ยังคงมีกลิ่นและรสชาติของกระดาษอยู่ ให้ทำการเปลี่ยนยี่ห้อกระดาษกรอง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมากกว่า
คุณภาพ และความหนาของกระดาษกล่อง
ถึงแม้ว่าจุดที่เราเห็นชัดที่สุด และผู้คนน่าจะหยิบมาเปรียบเทียบกันบ่อยมากที่สุด จะเป็นในเรื่องของการฟอกขาวกับไม่ฟอกขาวกระดาษกรอง แต่กระดาษกรอง ก็ยังมีข้อแตกต่างอื่นมากกว่าที่เราคิด ที่หากโรเจอร์ทำการซื้อจะต้องหยิบมาพิจารณา ทั้งในเรื่องของคุณภาพที่มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน และเรื่องของความหนา ความบางของกระดาษกรอง เหล่านี้ส่งผลต่อรสชาติของกาแฟของเราอย่างแน่นอน อย่างเรื่องของความคลีน และอัตราการไหลของน้ำ ถึงแม้หลายคนจะมองว่า เหล่านี้ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ผลกระทบเพียงเล็กน้อยเหล่านี้นี่แหละ ที่มีผลอย่างมากต่อเครื่องดื่มของเรา
เรื่องของขนาดของกระดาษกล่อง ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ชงกาแฟที่เราใช้ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ไม่เพียงแค่นั้น ในเรื่องของความหนาและความบางก็เช่นเดียวกัน กระดาษกรองที่มีลักษณะบางจนเกินไป อาจจะทำให้น้ำไหลผ่านได้เร็วจนเกินไป ในทางกลับกัน กระดาษกรองที่หนาจนเกินไป อาจจะทำให้มีน้ำมันหลุดออกไปในเครื่องดื่มของเรามากขึ้น อาจทำให้การสกัดกาแฟออกมาได้มากยิ่งขึ้น อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ แต่กระดาษกรองที่มีลักษณะหนามากกว่า อาจจะมีราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย
ในเรื่องของความถนัดก็สำคัญเช่นเดียวกัน บางคนเลือกที่จะใช้ดริปเปอร์อันใหญ่ แต่ใช้กระดาษกรองที่มีขนาดเล็ก แบบนี้ก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนมากกว่า
ท้ายที่สุดแล้ว แบบไหนดีกว่ากัน
การที่จะบอกว่า กระดาษกรองแบบที่ผ่านการฟอกขาว หรือไม่ผ่านการฟอกขาวนั้น แบบไหนดีกว่ากัน เราไม่สามารถบอกสรุปได้ในที่เดียว อย่างแรกเลย สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล บางคนมองว่า การใช้กระดาษกล่องที่ไม่ผ่านการฟอกขาวนั้น อาจจะดึงรสชาติกาแฟออกมาได้มากกว่า และรู้สึกปลอดภัยกับสุขภาพมากกว่า แต่บางคนก็มองว่า กระดาษกรองที่ผ่านการฟอกขาวแล้ว อย่างน้อยก็ทำให้กาแฟมีความคลีนมากกว่า
และอีกปัจจัยหนึ่งที่หลายคนหยิบยกมาพิจารณา คือเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่ากระดาษกรองที่ผ่านการฟอกขาว อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากใครเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็อาจเลือกเป็นกระดาษกรองที่ไม่ผ่านการฟอกขาว ซึ่งหากทำการกำจัดกลิ่นเหมือนกระดาษ ที่อาจจะปรับลดลงไปในเครื่องดื่มของเราได้ ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากไม่ได้ อาจจะเลือกเป็นกระดาษกรองที่ฟอกขาวแทน (กระดาษกรองฟอกขาวก็อาจมีกลิ่นของกระดาษปะปนลงไป แต่อาจมีอัตราที่น้อยกว่า) ซึ่งหากยังคงกังวลในเรื่องของสิ่งแวดล้อม อาจใช้กระดาษกรองที่ผ่านการฟอกขาวด้วยออกซิเจน น่าจะดีกว่า

และสุดท้าย ไม่ว่าคุณจะเลือกกระดาษกรองแบบที่ฟอกขาวหรือไม่ฟอกขาว อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยอื่นด้วย อย่างเรื่องของคุณภาพของกระดาษกรอง ความหนาบางของกระดาษกรอง หรือเรื่องของขนาดให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ชงกาแฟของเราด้วย ทางที่ดีหากยังไม่รู้ว่าจะใช้แบบไหนดี และเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ให้ลองซื้อมาใช้ทั้งสองแบบ แล้วลองเปรียบเทียบ ว่าเราชอบหรือไม่ชอบแบบไหนมากกว่ากัน