ผู้ผลิตกาแฟ และเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร - กาแฟดอยไทย

ผู้ผลิตกาแฟ และเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ในภาคส่วนต่าง ๆ ของการผลิตกาแฟ ตลอดไปจนถึงการค้า มีหลายส่วนมากมายที่มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ผู้ผลิตกาแฟ ตลอดไปจนถึงผู้ค้ากาแฟ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญตลอดห่วงโซ่ แต่ละส่วนก็มีบทบาทสำคัญและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิต การเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือการโพรเซสเป็นต้น

แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป มีกลุ่มคนอยู่ 2 ส่วนที่แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ หรือแยกออกจากกันได้ค่อนข้างยาก คือผู้ผลิตกาแฟ (Producer) และเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ (Farmer) ทั้งสองถูกเรียกแทนกันอยู่เสมอ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองบทบาทนี้มีความแตกต่างกันอยู่ ดังนั้นวันนี้ในบทความนี้เราจะพาคุณไปดูว่า ผู้ผลิตกาแฟและเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ทั้งสองมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

Coffee Farm View

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ มีหน้าที่อะไร

หากคุณมีโอกาสเคยได้อ่าน หรือมีการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ คุณจะพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ กับผู้ผลิตกาแฟนั้น ทั้งสองมีบทบาทและหน้าที่ค่อนข้างที่จะเหมือนกันเอามาก ๆ โดยทั่วไปแล้ว คำทั้งสองนี้ใช้เพื่ออธิบายถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตกาแฟแบบหลวม ๆ เท่านั้น ซึ่งทำหน้าที่ตั้งแต่นำกาแฟลงดิน ไปจนถึงการขายกาแฟให้กับผู้ค้ากาแฟ หรือส่งต่อไปยังสหกรณ์

โดยสำหรับผู้บริโภคกาแฟส่วนใหญ่แล้ว หากเราจะกล่าวถึงเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ก็อาจมีการจินตนาการถึงภาพของคนที่ทำงานในฟาร์มหรือไร่กาแฟ อาจจะทำหน้าที่ในการปลูก ดูแล และเก็บเกี่ยวผลเชอรี่ นอกจากนี้หากกล่าวถึงเกษตรกร เราอาจบ่งบอกได้ถึงผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ ซึ่งความรู้เหล่านี้ถูกตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น กล่าวก็คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ คือผู้ที่อาจจะทำงานในฟาร์ม ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวผลเชอรี่ หรืออาจจะเป็นเจ้าของฟาร์มเอง ที่หารายได้จากการปลูกกาแฟเหล่านี้ หลายครั้งก็อาจจะเหมารวมทุกคนที่ทำงานในไร่กาแฟ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตามว่าเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเช่นเดียวกัน

หลายคนจำกัดความคำนี้ได้ง่ายกว่านั้น โดยได้อธิบายความหมายของคำว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบในการผลิตกาแฟ ตั้งแต่กาแฟอยู่ในระยะต้นกล้า ไปจนถึงการดูแลอย่างการตัดแต่งกิ่ง การให้ปุ๋ย และการจัดการพืชในไร่ และที่ดินโดยรวม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการจัดการการดำเนินการฟาร์มทั้งหมดด้วย

จากคำจำกัดความทั้งหมดที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ เราเองก็สามารถที่จะอธิบายคำว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการลงแรงทำงาน ในทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตกาแฟ

ผู้ผลิตกาแฟ ทำหน้าที่อะไร

หากเราจะไปดูกันว่า ผู้ผลิตกาแฟมีหน้าที่อะไร เรามานิยามและจำกัดความความหมายของ การผลิตกาแฟ หรือ Coffee Producer กัน สิ่งนี้ก็คือการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การโพรเซสหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา ไปตลอดจนถึงการคัดเกรดของกรีนบีน กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ รวมถึงมีการพัฒนาทักษะและต่อยอดมาเป็นอย่างดี

นั่นก็ทำให้เราสามารถนิยามความหมายของผู้ผลิตกาแฟได้ ว่าก็คือเกษตรกรที่ทำหน้าที่จัดการกับกาแฟ หลังจากกระบวนการการเก็บเกี่ยวผล หรืออาจจะเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการกับร้านกาแฟ จนกว่ากาแฟจะถูกส่งโรงพยาบาลผู้ค้าหรือสหกรณ์

แต่บริบททางการผลิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ของในแต่ละภูมิภาคในแต่ละพื้นที่นั้น ก็ทำให้คำเรียกหรือคำจำกัดความของผู้ที่ทำงานในไร่กาแฟแตกต่างกันออกไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในไร่กาแฟแถบแอฟริกาตะวันออก อย่างในเอธิโอเปียและเคนย่า ซึ่งผู้คนเหล่านี้ทำหน้าที่ทั้งปลูกกาแฟ ดูแลผลผลิต มีการให้ปุ๋ย และเก็บเกี่ยวผลผลิตในท้ายที่สุด หากเป็นงานแบบนี้เราก็อาจจะเรียกได้ว่าคนเหล่านี้เป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ แต่ผู้คนที่ทำงานในไร่กาแฟในแถบละตินอเมริกา อย่างในโคลัมเบียนั้นก็แตกต่างกันออกไป เนื่องจากพวกเขานั้นทำหน้าที่ปลูกกาแฟ เก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดการ และมีการดำเนินการหลังจากการเก็บเกี่ยว อย่างเรื่องของการโพรเซสแบบนี้ด้วย หากเป็นแบบนี้ เราก็สามารถกล่าวได้ว่าพวกเขาเป็นผู้ผลิตกาแฟได้เช่นเดียวกัน

อีกหนึ่งข้อเปรียบเทียบที่น่าสนใจ และจำแนกความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตและเกษตรกร คือผู้ผลิตอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของต้นกาแฟใด ๆ อาจจะทำการซื้อกาแฟมาจากเกษตรกรในภูมิภาค หรือซื้อมาโดยตรงจากตลาดก็ได้ หรือหากมีฟาร์มหรือไร่เป็นของตัวเอง หากเป็นเจ้าของฟาร์มรายใหญ่ อาจจะขายได้มากกว่าที่ปลูก ดังนั้นผู้ผลิตจึงอาจไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่ปลูกกาแฟเอง อาจจะทำการหาฝึกซื้อกาแฟจากไร่หรือฟาร์มอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้

หากจะให้นิยาม และแบ่งหน้าที่ของทั้งสองกันอย่างชัดเจน อาจหมายความว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จะทำหน้าที่ในการเพาะปลูกต้นกาแฟและเก็บเกี่ยวผลเชอรี่ ในทางกลับกันหากเป็นบทบาทของผู้ผลิต อาจจะเป็นในเรื่องของการโพรเซสหลังจากการเก็บเกี่ยว และการดำเนินการในเชิงพาณิชย์มากกว่า ผู้ผลิตอาจไม่จำเป็นต้องปลูกกาแฟเลยด้วยซ้ำก็ได้

Cherry Picking

แต่ในความเป็นจริงแล้ว บทบาทของผู้ผลิตและเกษตรกรมีความคาบเกี่ยวกันอยู่ งานที่ทำทั้งหมดนั้นอาจจะไม่ได้แยกออกจากกันเสมอไป ดังนั้นหากเราจะเรียกว่าใครเป็นผู้ผลิตหรือเกษตรกรอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้บริโภคทั่วไปเท่านั้น แม้แต่คนในอุตสาหกรรมกาแฟเองก็ยากด้วยเช่นเดียวกัน

แล้วเราจำเป็นต้องเรียกให้ถูกหรือไม่

แล้วการที่เราเรียกผู้ผลิตกาแฟกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เรามีความจำเป็นต้องเรียกให้ถูกต้องหรือไม่ควรที่จะสลับกันหรือไม่ แน่นอนว่าหากเป็นในแง่ของผู้บริโภคทั่วไป เราอาจเพียงปรึกษาและรู้เรื่องราวเหล่านี้บ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะเรียกอย่างถูกต้องหรือไม่นั้น อยู่ที่ความต้องการส่วนตัวของแต่ละคนได้เลย แต่หากเป็นในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกาแฟ การจำแนกผู้ผลิตและเกษตรกรให้แยกออกจากกัน ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความจำเป็นมากเลยทีเดียว เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทั้งสองอาชีพดังกล่าวนี้ ปัจจัยที่ว่ามีดังนี้

ความสำคัญของข้อมูลและสถิติที่ถูกต้อง

องค์กรด้านวิชาการ การค้า และการพัฒนาระหว่างประเทศหลายแห่ง ได้มีการรวบรวมข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการผลิตกาแฟทั่วโลก ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรทั้งรายใหญ่และรายย่อย ที่ทำเป็นเจ้าของฟาร์มเอง หรือแม้กระทั่งเป็นคนงานที่อยู่ในฟาร์ม ในฟาร์มกาแฟทั้งใหญ่และเล็ก โดยมีการประมาณการว่า มีเกษตรกรรายย่อยกาแฟกว่า 25 ล้านคน แต่ในบรรดาทั้งหมดนี้ ผลิตกาแฟมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณกาแฟทั้งโลก

ในรายงานดังกล่าวนี้ มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยระหว่างคำจำกัดความของคำว่าผู้ผลิต และคำว่าเกษตรกร ซึ่งสิ่งนี้ค่อนข้างส่งผลต่อความแม่นยำและถูกต้องของข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น หากมีองค์กรใดองค์กรหนึ่งอ้างว่า ผู้ที่มีส่วนในกาแฟนั้นไม่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงปากท้อง หากไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นผู้ผลิตหรือเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ก็จะไม่สามารถอ้างอิงได้ว่าข้อมูลนี้พูดถึงใคร นั่นนำมาซึ่งการช่วยเหลือจากทางภาครัฐที่ไม่ถูกต้องและไม่แม่นยำ

ผลกระทบทางด้านการเงิน

แน่นอนว่าราคาที่จ่ายให้กับผู้ผลิต และจ่ายให้กับเกษตรกรนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน ผู้ผลิตที่ส่ง และขายสารกาแฟ ย่อมได้เงินมากกว่าเกษตรกรที่ส่งและขายผลเชอรี่กาแฟ แน่นอนว่าเกษตรกรเอง เป็นผู้ที่เสียเปรียบในด้านของราคามากกว่า อธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ผลกระทบของราคาซีไพร์ จะมีการผันผวน ซึ่งส่วนมากจะเพิ่มขึ้น ตามอุปกรณ์และวัสดุในการทำฟาร์ม ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วนและไม่ค่อยเป็นธรรมต่อเกษตรกรมากกว่า หากเทียบกับผู้ผลิตเอง 

และในทางกลับกัน ผู้ผลิตมีศักยภาพทางด้านการเงิน พี่จะจัดงานกับเรื่องราวแบบนี้ได้มากกว่าเกษตรกร

การรับข้อมูลที่ถูกต้องและโปร่งใสของผู้บริโภค

ในแง่ของการตลาด การใช้คำสองคำนี้แทนกัน ก็อาจทำให้การรับข้อมูลของผู้บริโภคนั้นผิดเพี้ยน หรือไม่ถูกต้องได้ด้วยเช่นเดียวกัน หากในกรณีนี้เราจะขอยกประเด็นของโรงคั่วกาแฟ และผู้บริโภคกาแฟ โดยปกติแล้วมักจะต้องการกาแฟที่มาจากฟาร์มเดียว หรือไร่กาแฟเดียวกัน (ซิงเกิ้ลฟาร์ม) ในบางประเทศอย่างประเทศเอธิโอเปีย ค่อนข้างเป็นเรื่องยาก ที่จะหากาแฟแบบซิงเกิ้ลฟาร์มมาได้ เพราะแต่ละฟาร์มหรือไร่กาแฟนั้นมีขนาดเล็กมาก และมีไร่กาแฟหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปลูกกาแฟที่แตกต่างกันออกไป

peru coffee

หรือในบางครั้ง โรงคั่วกาแฟบางแห่งมักจะใช้จุดขาย เป็นการเอ่ยถึงชื่อของเกษตรกรรายหนึ่งบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ หรืออาจจะมีการบ่งบอกว่าใครเป็นผู้ผลิตกาแฟ มีการให้เครดิตของคนคนนั้นอยู่บนฉลากบรรจุภัณฑ์ ผู้บริโภคอาจจะเข้าใจผิดว่าคนคนนั้นเป็นคนเดียวที่มีหน้าที่รับผิดชอบกาแฟ อย่างเรื่องของการปลูก การเก็บเกี่ยว และการโพรเซสหลังจากการเก็บเกี่ยว สิ่งนี้สร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภคได้

โดยสรุปแล้ว หากเราจะแยกสองคำนี้ ก็ดูเป็นอะไรที่ไม่ง่าย เพราะส่วนหนึ่ง คำทั้งสองมีความคาบเกี่ยวกันอยู่ในบริบท และหากเป็นในฐานะผู้ที่ดื่มกาแฟเอง เราอาจจะเพียงแค่รู้จักวิธีการเรียกแบบง่าย ๆ และตรงไปตรงมาก็น่าจะพอให้คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง อย่างหากเป็นเกษตรกร ก็อาจจะอธิบายได้ว่า เป็นผู้ที่มีส่วนในการปลูกกาแฟ หรือหากเป็นผู้ผลิตกาแฟ อาจเหมารวมถึงการโพรเซสหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบนี้ก็ได้ หรือใครจะนิยามแบบไหนก็ไม่ผิด

เพียงแต่หากเป็นในอุตสาหกรรมเอง การนิยามอย่างถูกต้องและแม่นยำถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญอยู่ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ความรู้ในส่วนนี้อาจช่วยให้เข้าใจเรื่องราวของกาแฟได้ลึกมากยิ่งขึ้น เป็นพื้นฐานสำหรับให้เราได้ศึกษากันต่อไปได้ด้วย