กาแฟศาสตร์101: ประวัติกาแฟ เรื่องราว และตำนาน - กาแฟดอยไทย

กาแฟศาสตร์101: ประวัติกาแฟ เรื่องราว และตำนาน

ตำนานเรื่องราวต้นกำเนิดของกาแฟนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลาย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีที่แน่ชัดว่ามนุษย์เรานำกาแฟมาเป็นเครื่องดื่ม ที่ทุกวันนี้เราหลายคนขาดมันไม่ได้กันตั้งแต่เมื่อไหร่ วันนี้ผมจะพามาเจาะลึกถึงจุดเริ่มต้น และตำนานเล่าขานเกี่ยวกับกาแฟ เราจะมาทำความรู้จัก ประวัติกาแฟ กันครับ

Coffee-beans,-Ethiopia

ตำนานแห่งเอธิโอเปีย

ประวัติกาแฟ เริ่มต้นขึ้นที่เอธิโอเปีย มีตำนานหนึ่งกล่าวว่า กาแฟที่ปลูกกันทั่วโลกในปัจจุบันนั้นสืบเชื้อสายมาจากป่ากาแฟโบราณ ที่อยู่บนที่ราบสูงในเอธิโอเปียเมื่อหลายศตวรรษก่อน มีเรื่องเล่าขานกันว่า Kaldi คนเลี้ยงแพะผู้นี้ได้ค้นพบรสชาติที่ลึกลับและซับซ้อนในผลเชอรี่

Kaldi ได้สังเกตว่า หลังจากที่แพะของเขาได้กินผลเชอรี่จากต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าไป แพะเหล่านั้นกลับกระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก เขาจึงได้เล่าเรื่องการค้นพบของเขานี้ให้กับนักบวชท่านหนึ่งฟัง ซึ่งนักบวชท่านนั้นก็ได้ทำการกินผลเชอรี่นั้นเข้าไป แล้วก็ค้นพบว่าเขาได้ตื่นตัวและสามารถทนต่ออาการง่วงนอนได้นานหลายชั่วโมง นักบวชท่านนั้นได้เผยแพร่และแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้กับนักบวชอื่น ๆ และแล้วเรื่องราวของผลเชอรี่วิเศษนี้ก็เริ่มแพร่กระจาย

เรื่องเล่าของผลเชอรี่วิเศษนี้มาไกลถึงดินแดนตะวันออก และในที่สุดก็มาถึงคาบสมุทรอาหรับ หลังจากนั้นการเดินทางครั้งใหญ่ของกาแฟก็ได้เริ่มต้นขึ้น

คาบสมุทรอาหรับ

Arabic-baklava-dessert-with-coffee

เริ่มมีการเพาะปลูกและการค้าขายกาแฟขึ้นบนคาบสมุทรอาหรับ ในช่วงศตวรรษที่ 15 ได้มีการเพาะปลูกกาแฟมากมายที่ภูมิภาคเยเมนในอาระเบีย จนถึงศตวรรษที่ 16  กาแฟก็ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเปอร์เซีย อียิปต์ ซีเรีย และตุรกี

กาแฟไม่ได้กลายเป็นแค่เครื่องดื่มที่ดื่มกันในครอบครัวหรือในบ้านเท่านั้น แต่ยังมีร้านกาแฟมากมาย ที่ในสมัยนั้นเรียกกันว่า qahveh khaneh เริ่มปรากฏให้เห็นในเมืองต่าง ๆ ของฝั่งตะวันออก สถานที่แห่งนี้นอกจากเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาผ่อนคลายด้วยการดื่มเครื่องดื่มสุดแสนวิเศษแล้ว ยังเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์อีกด้วย

ผู้คนไม่เพียงแค่มีความสุขกับกาแฟรสเลิศและพูดคุยเท่านั้น สถานที่แห่งนี้ยังมีดนตรี การแสดง หรือเกมต่าง ๆ มากมาย ร้านกาแฟได้กลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและพบปะสังสรรค์อย่างรวดเร็ว ซึ่งสถานที่แห่งนี้ได้ถูกขนานนามว่า “School of Wisdom”

สู่ทวีปยุโรป

Retro-coffee

ได้มีเรื่องเล่าของนักเดินทางชาวยุโรปเกี่ยวกับดินแดนตะวันออกใกล้ เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเครื่องดื่มสีดำสนิทที่รสชาติลึกลับ ในช่วงศตวรรษที่ 17 กาแฟได้เดินทางไปยังยุโรปและเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วทั้งทวีปในเวลาไม่นาน

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะชอบเครื่องดื่มชนิดนี้ หลายคนเกิดความสงสัยและความกลัว ถึงกับเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า “สิ่งรังสรรค์อันข่มขืนของซาตาน” โดยประโยคนี้ถูกกล่าวโดยนักบวชที่ประณามเครื่องดื่มชนิดนี้ เมื่อเครื่องดื่มชนิดนี้เข้ามาถึงเมืองเวนิสในปี ค.ศ. 1615 เรื่องราวความขัดแย้งนี้ถึงหูของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลมองต์ที่ 8  จนเขาตัดสินใจลงดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ด้วยตนเอง แล้วก็ได้พบว่าเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นเครื่องดื่มที่ดีและทำให้เขาพอใจ หลังจากนั้นจึงกลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิต

ถึงจะมีข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเวนิส แต่ร้านกาแฟก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคมและสื่อกลางของการสื่อสารอย่างรวดเร็วในเมืองใหญ่ ๆ ของหลายประเทศ ทั้งอังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส  ฮอลแลนด์ และเยอรมนี

กาแฟเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น และเข้ามาแทนที่เครื่องดื่มบางอย่างในมื้ออาหารเช้า อย่างเช่นเบียร์หรือไวน์ โดยปกติแล้วผู้คนมักจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้รู้สึกตื่นตัวและกระฉับกระเฉง สามารถที่จะทำงานในวันนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การมาถึงของกาแฟก็ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น 

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17  ได้มีร้านกาแฟเกิดขึ้นมากกว่า 300 แห่งในลอนดอน และสถานที่แห่งนี้ก็เป็นศูนย์กลางของผู้คนมากหน้าหลายตา ทั้งเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้า โบรกเกอร์หุ้น รวมถึงศิลปินมากมาย ได้มีสิ่งใหม่ ๆ หรือธุรกิจใหม่ ๆ เติบโตขึ้นจากสถานที่แห่งนี้อีกมาก

โลกใหม่

ในช่วงกลางทศวรรษ 1600  กาแฟก็ไปถึงนิวอัมสเตอร์ดัม ภายหลังเมืองแห่งนี้ถูกเรียกว่าเมืองนิวยอร์คในที่สุด ถึงแม้ว่าร้านกาแฟจะมีเพิ่มให้เห็นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เครื่องดื่มอย่างชาก็ยังเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตในโลกใหม่ จนถึงช่วงปี 1773  เมื่อชาวอาณานิคมได้ต่อต้านการเก็บภาษีชาที่เพิ่มสูงขึ้นจากกษัตริย์จอร์จที่ 3 ได้เกิดการจลาจลขึ้น ซึ่งถูกเรียกว่า “Boston Tea Party” ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เองทำให้ผู้คนได้เปลี่ยนแปลงจากการดื่มชามาเป็นการดื่มกาแฟในอเมริกาตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

ต้นกาแฟที่แพร่กระจายไปทั่วโลก

coffee-beans

เนื่องด้วยความต้องการในการดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดในเรื่องของการเพาะปลูกกาแฟนอกประเทศอะไรเบียร์ ในที่สุดชาวดัตช์ก็สามารถเพาะต้นกล้าของกาแฟได้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 จากความพยายามครั้งแรกที่จะนำกาแฟไปปลูกในอินเดีย ท้ายที่สุดก็ล้มเหลว จึงมีการเปลี่ยนไปปลูกกาแฟในปัตตาเวียบนเกาะชวา ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย

กาแฟเจริญเติบโตได้ดีในสถานที่แห่งนี้ ในไม่ช้าชาวดัตช์ก็กลายเป็นผู้ค้ากับแฟนรายใหญ่ จากนั้นพวกเขาจึงขยายการปลูกกาแฟประยงค์เกาะสุมาตราและเซเลเบส

สู่อเมริกา

ในปี ค.ศ. 1714 นายกเทศมนตรีแห่งเมืองอัมสเตอร์ดัมได้มอบกล้ากาแฟให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส พระราชาจึงมีคำสั่งให้ปลูกต้นกาแฟในสวนหลวงใจกลางกรุงปารีส ในปี ค.ศ. 1723  ทหารเรือนุ่ม Gabriel de Clieu ได้นำต้นกล้าที่ได้จากกษัตริย์เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ผ่านสภาพอากาศที่น่ากลัว เดินทางมาถึงมาร์ตินีกได้ในที่สุด (เกาะเล็ก ๆ ทางตะวันตกของทะเลแคริบเบียน)

ไม่เพียงแค่ต้นกล้าสามารถเติบโตได้ดีในสถานที่แห่งนี้ แต่ต้นกาแฟยังสามารถให้ผลผลิตได้มากถึง 18 ล้านตันในอีก 50 ปีข้างหน้า ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ สถานที่แห่งนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของกาแฟทั่วแถบแคริบเบียน อเมริกาใต้ ไปจนถึงอเมริกากลางเลยทีเดียว

กาแฟบราซิลอันเลื่องชื่อก็มีต้นกำเนิดมาจากสถานที่แห่งนี้ โดยจักรพรรดิชาวบราซิล Francisco de Mello Palheta ได้เดินทางไปยังจังหวัด French Guiana จังหวัดหนึ่งของฝรั่งเศสทางตะวันตกของทะเลแคริบเบียนเพื่อมาขอต้นกล้าในการปลูกกาแฟ ชาวฝรั่งเศสไม่ได้เต็มใจที่จะมอบต้นกล้านี้ให้ แต่แล้วภรรยาของผู้ว่าการฝรั่งเศสซึ่งหลงใหลในหน้าตาของเขาจึงได้มอบช่อดอกไม้ให้ขาว ซึ่งภายในมีเมล็ดกาแฟอยู่ เป็นปริมาณที่เพียงพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมกาแฟมูลค่าหลายพันล้านเหรียญเริ่มต้นขึ้นในบราซิล

ทั้งเหล้ามิชชันนารี นักเดินทาง พ่อค้า และชาวอาณานิคมมากมายได้ทำการขนเมล็ดกาแฟไปยังดินแดนใหม่ และในที่สุดก็ได้มีการปลูกกาแฟทั่วโลก พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกกาแฟที่สุดอยู่ในป่าเขตร้อนที่งดงาม และในเขตที่ราบสูงบนภูเขาที่ยากแก่การไปถึง แม้ว่าพืชหลายชนิดจะเติบโตได้ยากในสถานที่เหล่านี้ แต่กาแฟกับเติบโตได้ดี มีประเทศเกิดใหม่มากมายที่ผลักดันกาแฟเป็นธุรกิจหลัก บางประเทศก็เจริญรุ่งเรือง บางประเทศก็พังไม่เป็นท่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18  กาแฟได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ทำกำไรได้มากที่สุดอย่างหนึ่งของโลกรองจากน้ำมันดิบ และกาแฟก็ได้กลายเป็นสินค้าบริโภคที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก

สู่แดนสยาม

Coffee-beans-drying

ตามคำบอกกล่าวเล่าว่า กาแฟนั้นได้เข้ามาสู่บ้านเราตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ในสมัยก่อนไม่ได้นำกาแฟมาทำเป็นเครื่องดื่มอย่างทุกวันนี้ แต่มักจะนำมาทำเป็นอาหารเสียมากกว่า เนื่องจากเครื่องดื่มอย่างกาแฟมีรสขม คนไทยจึงไม่ได้ชอบมากนัก

แต่กาแฟเริ่มมาแพร่หลายกันจริงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งกษัตริย์ได้มีรับสั่งให้ทำสวนกาแฟอยู่พักหนึ่ง ที่บริเวณวัดราชประดิษฐ์ จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ยังมีสวนกาแฟอยู่ แต่คาดว่ากาแฟคงเป็นที่นิยมแค่เหล่าเจ้าขุนมูลนาย โดยรวมแล้วชาวบ้านทั่วไปไม่ได้นิยมเครื่องดื่มชนิดนี้มากนัก 

ในที่สุดการปลูกกาแฟก็ต้องหยุดชะงักไป แต่ก็มีร้านกาแฟผุดขึ้นในกรุงเทพฯ จากหลักฐานแล้วเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ซึ่งช่วงนั้นอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อว่าร้าน “Red Cross Tea Room” ในตอนนั้นมีเหล่าเจ้าขุนมูลนาย ข้าราชการ จนไปถึงชาวต่างชาติมาใช้บริการในร้านกาแฟแห่งนี้มากมาย และคาดว่าตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีร้านกาแฟมากขึ้นในประเทศไทย