กาแฟ ประโยชน์ และ ข้อควรระวัง - กาแฟดอยไทย

กาแฟ ประโยชน์ และ ข้อควรระวัง

เมื่อเราพูดถึงกาแฟ หลายคนมักจะนึกถึง ประสิทธิภาพในการเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย แต่กาแฟไม่ได้ทำหน้าที่แค่นั้น จากงานวิจัยยังพบว่า ยังมีประโยชน์อื่น ๆ ต่อสุขภาพที่สำคัญหลากหลาย ประโยชน์ดังกล่าวอาจรวมถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ทั่วโลกมีคนที่ดื่มกาแฟโดยประมาณ 2.25 พันล้านแก้วต่อวัน ทางทีมนักวิจัยยังได้บอกอีกว่า ประโยชน์ของการดื่มกาแฟด้านการลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ก็มี เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคลำไส้อักเสบ และโรคตับ ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนเรื่องนี้อยู่บ้างบางส่วน

Benefits of coffee

ในกาแฟนั้นประกอบด้วยสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) ไนอาซิน (วิตามินบี 3) แมกนีเซียม โพแทสเซียม และสารประกอบฟีนอลต่าง ๆ หรือสารต้านอนุมูลอิสระด้วย ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำว่า สารต่าง ๆ เหล่านี้ รวมถึงส่วนผสมอื่น ๆ ที่เราอาจใส่ลงไปในกาแฟนั้น เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์อยู่มาก

ที่เราจะมาชวนคุยกันในวันนี้ คือเรื่องของ กาแฟ ประโยชน์ ต่อสุขภาพ หากเราดื่มกาแฟ ร่างกายเราจะได้อะไรบ้าง โดยข้อมูลเหล่านี้มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน และไม่ใช่แค่เรื่องของประโยชน์ ยังมีเรื่องของความเสี่ยงในการดื่มกาแฟอีกด้วย

ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ

ประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการที่เราดื่มกาแฟได้แก่ การป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 โรคพาร์กินสัน โรคตับ และโรคมะเร็งตับ การบริโภคกาแฟบ่อย ๆ อาจช่วยในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดด้วย

กาแฟ กับโรคเบาหวาน

กาแฟอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในปี 2014 นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากผู้คนมากกว่า 40,000 คน พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 แก้วต่อวันในช่วง 4 ปี มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภคกาแฟเพิ่มถึง 11 เปอร์เซ็นต์ ยังมีข้อมูลจากการวิเคราะห์ในปี 2017 สรุปว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน หรือไม่มีคาเฟอีนวันละประมาณ 4-6 แก้ว มีความเสี่ยงต่อโรคเมตตาบอลิซึมน้อยลง รวมถึงโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย

กาแฟ กับโรคพาร์กินสัน

ยังมีการศึกษาต่าง ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า คาเฟอีน ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่อยู่ในกาแฟและเครื่องดื่มต่าง ๆ อาจช่วยในการป้องกันโรคพาร์กินสันได้ ได้มีทีมนักวิจัยทีมหนึ่งมีข้อสรุปว่า ผู้คนที่ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวันนั้น อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกาแฟถึง 5 เท่า ยังมีผลวิเคราะห์จากปี 2017 จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคพาร์กินสัน แม้แต่ในผู้ที่สูบบุหรี่ ทางทีมวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟอาจมีโอกาสน้อยที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า และภาวะทางปัญญา  เช่น โรคอัลไซเมอร์

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่า การดื่มกาแฟไม่มีคาเฟอีนช่วยป้องกันโรคพาร์กินสันได้

Health Care for Coffee Lover

กาแฟ กับโรคตับเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง

ในปี 2019 ได้มีข้อสรุปว่า การดื่มกาแฟมีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ ก่อนหน้านี้ในปี 2015 ได้มีการศึกษาในกลุ่มประชากรหลายเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา พบว่าการดื่มกาแฟ 2-3 แก้วต่อวันนั้นจะช่วยในการลดความเสี่ยงของผู้เข้าร่วมในการพัฒนามะเร็งตับถึง 38 เปอร์เซ็นต์ และความเสี่ยงในโรคตับเรื้อรังถึง 46 เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์ในปี 2017 จากแหล่งที่เชื่อถือได้ยังสรุปว่า การดื่มกาแฟทุกประเภทสามารถที่จะลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับโรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็งได้ การค้นพบนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาในปี 2021 ที่บอกว่า การบริโภคกาแฟทุกประเภทอาจช่วยในการป้องกันโรคตับเรื้อรัง

กาแฟ กับโรคตับอื่น ๆ

ผู้ที่ดื่มกาแฟอาจมีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีน้อยลง ในปี 2014 นั้นนักวิจัยได้ทำการศึกษาการบริโภคกาแฟในกลุ่มคนที่เป็นโรค primary sclerosing cholangitis (PSC) และ primary biliary cirrhosis (PBC) ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นภาวะภูมิต้านทานตนเอง ที่ส่งผลต่อท่อน้ำดีในตับ จากการวิจัยศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นโรค PSC ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานบ่งชี้ถึงการบริโภคกาแฟในกลุ่มผู้ป่วยโรค PBC

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษากี่ชิ้นในปี 2014 ที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงที่ลดลงในการเสียชีวิตจากโรคตับแข็ง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไวรัสตับอักเสบ ทางนักวิจัยแนะนำว่า การดื่มกาแฟ 2 แก้วขึ้นไปทุกวันอาจลดความเสี่ยงได้ 66 เปอร์เซ็นต์

กาแฟ กับสุขภาพหัวใจ

จากการวิเคราะห์ในปี 2017 จากแหล่งที่เชื่อถือได้พบว่า การบริโภคคาเฟอีน อย่างน้อยอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งรวมถึงความดันโลหิตด้วย ในการศึกษาจากปี 2018 นักวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟ 3-5 แก้วต่อวันนั้น อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 15 เปอร์เซ็นต์ การดื่มวันละ 1-5 แก้วก็ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่ลดลง ซึ่งเกิดจากสาเหตุใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และสำหรับผู้ที่เคยมีอาการหัวใจวาย การดื่มกาแฟไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงที่จะประสบกับโรคอื่น หรือเสียชีวิตด้วยสาเหตุนี้

แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในปี 2017 ยังพบอีกว่า ในผู้ที่ดื่มกาแฟมากขึ้น อาจมีระดับไขมันในเลือดและคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของไขมันเหล่านี้อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจได้

coffee beans and stethoscope

กาแฟ กับโรคอ้วน

มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่า การดื่มกาแฟอาจช่วยให้คนลดน้ำหนักได้ ได้มีงานวิจัยฉบับหนึ่งในปี 2018 จากแหล่งที่เชื่อถือได้ระบุว่า ยิ่งดื่มกาแฟมากขึ้น ค่าเฉลี่ยที่จะลดน้ำหนักได้ หรือดัชนีมวลกายและมวลไขมันจะสูงขึ้นไปด้วย หมายความว่า ยิ่งดื่มกาแฟยิ่งลดน้ำหนักได้

ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือในปี 2019 ยังชี้ให้เห็นว่า การดื่มกาแฟอาจมีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับการลดน้ำหนัก โดยมีประสิทธิภาพในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากการศึกษาเหล่านี้ยังไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนอย่างชัดเจน ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงอาจไม่ถูกต้องหรือไม่มีความชัดเจน และแม้ว่ากาแฟอาจมีประโยชน์และมีส่วนในการช่วยลดความอ้วน แต่ก็ไม่สามารถที่จะทดแทนการกินอาหารที่สมดุล และการออกกำลังกายได้

คุณค่าทางโภชนาการ

กาแฟดำธรรมดาปริมาณ 100 มิลลิลิตร ปริมาณ 3.3 ออนซ์ (ในที่นี้ต้องไม่ใส่นมหรือน้ำตาลเพิ่ม) กาแฟบริสุทธิ์นั้นมีแคลอรีต่ำ กาแฟดำ 1 แก้วที่ว่ามานี้ มีปริมาณแคลอรีอยู่ที่ 2 กิโลแคลอรีเท่านั้น แต่อย่างที่เรารู้ การเติมครีมนมหรือน้ำตาลเพิ่ม จะเป็นการไปเพิ่มปริมาณแคลอรีอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว

ในเมล็ดกาแฟยังมีสารสำคัญคือ สารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง สารต้านอนุมูลอิสระนั้นจะช่วยในการปกป้องร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระเป็นของเสียประเภทหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากกระบวนการบางอย่างในร่างกายของเรา อนุมูลอิสระนี้จะเป็นสารพิษในร่างกาย และทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบกับแง่มุมบางอย่างในโรคเมตตาบอริซึม รวมถึงโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอ้วนด้วย

ในปี 2018 นักวิจัยบางคนได้กล่าวว่า สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟนี้ ช่วยในการป้องกันอาการเมตาบอลิซึมได้ และแม้นักวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า สารประกอบบางอย่างที่อยู่ในเมล็ดกาแฟนี้อาจช่วยในการป้องกันโรค แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าสารเหล่านี้จะเกิดกระบวนการอย่างไรเมื่อเข้าไปสู่ในร่างกายมนุษย์

bitter coffee

ความเสี่ยงในการดื่มกาแฟ

ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่การดื่มกาแฟในปริมาณที่มากก็อาจมีความเสี่ยงหรือผลเสียได้เช่นกัน บางอันเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

กระดูกหักง่าย

ไม่น่าเชื่อ มีผลการศึกษาบางชิ้นชีว่า ในเพศหญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณที่มาก อาจมีความเสี่ยงที่จะมีกระดูกเปราะหักง่ายสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากเป็นผู้ชายที่ดื่มกาแฟในปริมาณมาก อาจมีความเสี่ยงเช่นกัน แต่จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

การบริโภคกาแฟนั้นอาจไม่ปลอดภัย หากบริโภคระหว่างที่สตรีตั้งครรภ์ มีหลักฐานบางอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคกาแฟในปริมาณมากกับการสูญเสียการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังอาจทำให้เด็กที่เกิดมามีน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าวนี้

โรคกรดไหลย้อน

มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟในปริมาณที่มากอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

anxiety

ภาวะวิตกกังวล

จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ระบุว่า การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมาก ซึ่งคาเฟอีนก็คือสารสำคัญที่อยู่ในกาแฟ ไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะวิตกกังวลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่ผู้ที่มีโรคประจำตัวคือโรคตื่นตระหนกหรือโรควิตกกังวลทางสังคมอยู่แล้ว และในผู้ที่มีภาวะทางจิตไม่ค่อยแข็งแรง คาเฟอีนไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ภาวะทางสุขภาพจิต

หนึ่งในการศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ในปี 2016 สรุปว่า การบริโภคคาเฟอีนสูงในช่วงวัยรุ่นนั้น อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในสมอง นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการศึกษานี้พบว่า การดื่มกาแฟและได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากในวัยรุ่นนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะวิตกกังวลในวัยผู้ใหญ่ได้

สารประกอบบางอย่างที่เป็นพิษในกาแฟ

ในปี 2015 ได้มีกลุ่มนักวิจัยศึกษาพบว่า มีสารพิษจากเชื้อราในกระบวนการผลิตกาแฟเชิงพาณิชย์ค่อนข้างสูง สารพิษตัวนี้มีชื่อว่า Mycotoxins ซึ่งเป็นสารพิษที่ปนเปื้อนในเมล็ดกาแฟ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ อีกทั้งยังมีความกังวลเกี่ยวกับสารอีกชนิดหนึ่งชื่อว่าอะคริลาไมด์ ซึ่งเป็นสารชนิดมีที่อยู่ในกาแฟ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับร่างกายได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงของการดื่มกาแฟ

แม้ว่าการบริโภคคาเฟอีนนั้นอาจทำให้เกิดประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงในเชิงลบ ถ้าบุคคลนั้น ๆ บริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป ผลข้างเคียงมีดังนี้

  • อาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ หากผู้บริโภคใช้ยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช ยาไทรอยด์ ยาแก้อาการเสียดท้อง และยาปฏิชีวนะ
  • อาจเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงที่ดื่ม และได้รับคาเฟอีนมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน อีกทั้งอาจเกิดภาวะในผู้ที่บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ
  • ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
  • ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง อาจเกิดขึ้นได้หากผู้ที่บริโภคกาแฟนั้น บริโภคกาแฟระหว่าง หรือหลังการออกกำลังกายทันที
  • มีโอกาสที่จะทำให้ลดภาวะเจริญพันธุ์ด้วย
  • มีผลต่อทารกในครรภ์ที่กำลังเจริญเติบโต เช่น อาจทำให้มีน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำ ถ้าผู้ที่ตั้งครรภ์ดื่มกาแฟในปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์
  • ในทารกที่ได้รับนมจากผู้ให้นมที่ดื่มกาแฟ เด็กอาจมีอาการหงุดหงิดและนอนไม่หลับได้
  • ภาวะขาดน้ำ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปและหลักฐานที่เชื่อถือได้อย่างเป็นทางการ
  • อาจมีภาวะสุขภาพจิตบางอย่างที่แย่ลง เช่น โรคจิตเภท หรือโรคอารมณ์สองขั้ว
  • ความผิดปกติเฉพาะอื่น ๆ ของกาแฟ
    • อาจมีอาการมึนเมาคาเฟอีน หากได้รับเกินขนาด
    • เกิดโรควิตกกังวล อันมีผลมาจากคาเฟอีน
    • เกิดอาการนอนหลับยาก หรือเกิดความผิดปกติของการนอนจากคาเฟอีน
    • โรคที่เกี่ยวข้องกับคาเฟอีนอื่น ๆ อีกมากมาย
coffee and tea

กาแฟ VS ชา

ทั้งเครื่องดื่มอย่างกาแฟและชา เป็นสองเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเหมือนกัน ดังนั้นจึงอาจที่จะมีประโยชน์ ความเสี่ยง และผลข้างเคียงอันเกิดมาจากคาเฟอีนที่เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับประเภทของชาหรือกาแฟ แต่โดยทั่วไปแล้ว กาแฟ 8 ออนซ์ หรือประมาณ 1 ถ้วยนั้น จะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ประมาณ 95 มิลลิกรัม ในชาดำที่มีขนาดใกล้เคียงกัน คือ 8 ออนซ์นั้น มีปริมาณคาเฟอีนอยู่เพียง 48 มิลลิกรัม และในชาเขียวมีเพียง 29 มิลลิกรัม ซึ่งนับว่าน้อยกว่าพอสมควรแต่ก็มีความแตกต่างบางประการในชาและกาแฟ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและร่างกายของเรา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภค ว่าเราบริโภคเครื่องดื่มแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้ทั้งนั้นได้มีการศึกษาในปี 2018 ที่ได้เปรียบเทียบผลของการบริโภคกาแฟและชา ที่มีความแตกต่างกัน

การบริโภคกาแฟนั้นช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในการเป็นโรคหัวใจและมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง อีกทั้งกาแฟยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจโดยเฉพาะในผู้ชาย ในผู้หญิงที่ดื่มกาแฟเพียงอย่างเดียวนั้น อาจมีอัตราการตายโดยรวมจากการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ว่ามานี้น้อยกว่าผู้ที่ดื่มชาพียงอย่างเดียวมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์

ชาก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตในการเกิดโรคหัวใจและมะเร็งโดยเฉพาะในผู้ชาย นอกจากนี้ ผู้ชายที่ดื่มแต่ชาอย่างเดียวในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ อาจมีความเสี่ยงในการตายในการเกิดโรคต่าง ๆ ต่ำกว่าผู้ที่ดื่มกาแฟอย่างเดียว

โดยสรุปแล้ว จากการศึกษานี้พบว่า กาแฟและชานั้นมีประโยชน์แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภค และประโยชน์เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ความแตกต่างทางเพศและผลกระทบต่าง ๆ นี้ อาจมีความสัมพันธ์ต่อฮอร์โมนเพศในร่างกาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างแน่นอนเกี่ยวกับอัตราการตายที่ว่ามานี้

good mood coffee

สรุป

จากการวิเคราะห์ทั้งหมดรวมถึงผลวิเคราะห์ในปี 2017 ได้มีการสรุปว่า โดยทั่วไปปกติแล้ว การดื่มกาแฟนั้นปลอดภัย สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ดื่มกาแฟในปริมาณ 3-4 แก้วต่อวัน ทั้งนี้รวมถึงการบริโภคคาเฟอีนในอัตราที่ไม่เกินที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวัน คืออยู่ที่ประมาณ 400 มิลลิกรัม และการดื่มกาแฟเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสุขภาพบางอย่างได้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษายังมีการเตือนว่า บุหรี่ หรือการสูบบุหรี่นั้น อาจทำให้เสียประโยชน์ใด ๆ ทั้งหมดในการดื่มกาแฟไป

คาเฟอีนเป็นสารประกอบสำคัญที่อยู่ในกาแฟ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้มีแค่นั้น ในกาแฟยังมีสารประกอบอีกหลายอย่าง และมีวิธีการดึงไปใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้ยากต่อการพิจารณาอย่างชัดเจนว่า กาแฟมีผลกระทบต่อบุคคลอย่างไร และส่วนประกอบใดบ้างในกาแฟที่มีประโยชน์หรือมีความเสี่ยง

ที่บอกได้ก็คือ หากเราอยากได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพจากการดื่มกาแฟ เราควรที่จะหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟเกินปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน และพยายามดูในเรื่องของส่วนผสมที่เราเพิ่มเข้าไปในกาแฟ เช่น น้ำตาล ครีม นม หรือสารปรุงแต่งรสอื่น ๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และในบุคคลบางกลุ่มที่ยังไม่ควรจะดื่มกาแฟหรือควรหลีกเลี่ยงไปก่อนในช่วงนั้น เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่ และผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางจิตเวช หรือผู้ที่อาจมีกระดูกเปราะหักง่าย เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ